ดูแลเด็กสมาธิสั้น

ดูแลเด็กสมาธิสั้น พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย ซนไม่อยู่นิ่ง รอคอยไม่ได้ ชอบพูดโพล่ง”ลูกของคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่? เช็กอาการ ลูกเป็น โรคสมาธิสั้น หรือแค่ซน

 เด็ก ดูแลเด็กสมาธิสั้น พ่อแม่รับมืออย่างไรดีแนวทางในการดูแลเด็กสมาธิสั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คุณครู รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจอันดับแรกในการดูแลเด็กสมาธิสั้น คือ ครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ และบุคคลภายในครอบครัว จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค และแนวทางในการช่วยเหลือ ดูแลอย่างเหมาะสม มีทัศนคติเชิงบวกต่อเด็ก โดยควรมองว่า เป็นความบกพร่องที่ต้องช่วยกันแก้ไข แทนที่จะมองว่าเด็กขี้เกียจ ไม่สนใจในการเรียนปรับพฤติกรรม จุดเริ่มต้นรักษาเด็กสมาธิสั้น

ดูแลเด็กสมาธิสั้น

การชมเชยหรือให้รางวัล เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมรวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการตัดสิทธิ์ หรืองดกิจกรรมที่เด็กชอบ จะช่วยลดอุปสรรค ในการเรียนรู้ ฝึกให้เด็กสามารถจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆ ได้นานขึ้น รู้จักการตั้งใจฟังคำสั่งที่มอบหมายให้ทำ และรู้จักการรอคอยครู คือผู้ช่วยสำคัญการช่วยเหลือในด้านการเรียนรู้ การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีสิ่งมากระตุ้นมากเกินไป โดยควรนั่งเรียนด้านหน้า ไม่ควรนั่งใกล้ประตูหรือหน้าต่าง เมื่อเด็กเริ่มเบื่อให้ลุกเดินบ้าง เช่น เข้าห้องน้ำ ลบกระดาน เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนที่เหมาะสมกับเด็ก ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ โดยห้องเรียนควรค่อนข้างสงบ ไม่สับสนวุ่นวาย ไม่มีสิ่งกระตุ้นมาก มีระเบียบกำหนดกิจกรรมที่เด็กจะทำอย่างชัดเจนและเป็นขั้นตอน